เกจวัดแรงดัน Stress Gauge  / Pressure Gauge / เกจวัดแรงดัน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการอ่านค่าแรงดันในระบบท่อ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม ทุกประเภท เช่น แรงดันลม และของเหลวได้ทุกชนิด  มีขนาดของหน้าปัดให้เลือกตั้งแต่ 1.5″ , 2.5″ ,  4″ , 6″  ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้  วัดสดุและขนาดของก็มีให้เลือกตามความต้องการเช่นกัน  ลักษณะเกจวัดแรงดัน จะแบ่งเป็น 2 ประเภท  

  1.  เกจวัดแรงดันบูร์ดอง / เกจวัดแรงดันอนาล็อก / เกจวัดแรงดันแบบเข็ม 

    เป็นเกจวัดแรงดันชนิดอาศัยหลักการยืดตัวหรือโก่งตัวของวัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นเมื่อได้รับแรงดัน ลักษณะการทำงานของบูร์ดองมีหลักการเดียวกับของเด็กเล่นที่มีลักษณะเป็นขดกระดาษม้วน โดยเมื่อเป่าลมเข้า ขดกระดาษม้วนจะคลายตัวออก และเมื่อปล่อยลมออก ขดกระดาษจะม้วนตัวกลับเข้าสู่สภาพเดิม ดูคลิปตัวอย่างการทำงาน การทำงานของ เกจวัดแรงดัน 

     เกจวัดแรงดันแบบดบูร์ดอง ยังมีเกจที่เป็นรูปแบบของการส่งสัญญาณออก (สวิทช์ เปิด-ปิด) เรียกว่า “Stress gauge with contact” ซึ่งมีไว้สำหรับในการส่งสัญญาณ แจ้งเตือน เช่น ไฟ , เสียง ซึ่งในหน้าปัดจะมีเข็มคอนแทค อยู่ด้านในหน้าปัด สามารถตั้งค่าเตือนเมื่อแรงดันตก ( low alarm ) และเตือนเมื่อแรงดันสูง ( Hello alarm ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ดูคลิปตัวอย่างการทำงาน การทำงานของ Pressure Gauge 

 ส่วนประกอบของเครื่องวัดแรงดัน 

  1. ตัวเรือนเป็นอุปกรณ์ภายนอกของ เกจ มีหน้าที่ป้องกันสิ่งสกปรกและป้องกันไม่ให้บูร์ดองเสียหาย 
  2. บูร์ดองวัสดุที่มีสมบัติยืดหยุ่นหรือทำงานโดยอาศัยการแปลงความดัน 
  3. เข็มหน่วยย่านการวัดเป็นจุดบอกระดับค่าของแรงดัน 
  4. ข้อต่อจุดเชื่อม เป็นจุดต่อกับท่อหรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริม สามารถเลือกขนาดไซร์ 
  5. เฟืองเป็นกลไกลที่เชื่อมติดกับตัว บูร์ดอง เมื่อได้รับแรงดันแล้ว ปลายของบูร์ดองจะดึงเฟืองให้หมุนทำให้เข็มขยับตามระดับของแรงดัน 
  6. หน้าปัดบอกระดับของแรงดันเป็นหน่วยต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น bar , PSI , kg/cm2  เป็นต้น 
  7. หน้าปัดกระจกด้านนอกเป็นวัสดุกระจกแบบใส เพื่อใช้ในการมองอ่านค่าของแรงดัน 

     2.เกจวัดแรงดันดิจิตอล   เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล จะใช้พลังงานไฟฟ้า DC (ถ่านอัลคาไลน์) ขับเคลื่อนการทำงาน โดยเกจประเภทนี้จะมีความแม่นยำสูงกว่าเกจแบบบูร์ดอง เหมาะสำหรับงานที่ต้องการวัดแรงดันแม่นยำสูง สามารถบอกค่าของแรงดันได้หลายรูปแบบ นอกจากนั้นเกจวัดแรงดันแบบดิจิตอลในหลายรุ่นสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถอ่านค่าได้จากระยะไกลได้อีกด้วย โดยภายจะมีแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการประมวนค่า โดยแรงดันจะมาสัมผัสกับแผ่นไดอะแฟรมอยู่บริเวณส่วนกลางของเกจ

อุปกรณ์เสริม เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความสามารถของเกจ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ดังนี้  

  1. น้ำมันกรีนเซอร์ลีนซึ่งทำมาจากเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด และ มีรสหวาน โดยปกติมาจากน้ำมันของพืช ซึ่งโดยทั่วไป คือ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม กลีเซอรีนสามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์และน้ำ แต่ไม่ละลายในไขมันเนื่องจากกลีเซอรีนมีคุณสมบัติทางเคมีที่หลากหลายจึงสามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารเคมีอื่นๆได้ ข้อดีของหน้าปัดมีน้ำมันคือช่วยถนอมกลไกลภายใน เหมาะกับงานมีแรงสั่นสะเทือนสูง เพราะน้ำมันจะช่วยลดการสั่นของเข็มอ่าน ทำให้อ่านค่าได้แม้มีการสั่นสะเทือนสูง และยังเป็นตัวซับแรงทำให้เข็มอ่านค่าไม่หัก สามารถดูหลักการทำงานได้ที่ ลิงค์นี้ เกจวัดแรงดันแบบน้ำมัน 
  2. ไซฟอน( Syphon ) หรือ หางหมู ข้อดีคือ ช่วยระบายความร้อนภายในท่อให้เย็นก่อนที่จะเข้าสู่ภายในเกจ สามารถดูหลักการทำงานได้ที่ ลิงค์นี้ การทำงานของไซฟอนเมื่อติดตั้งกับเกจวัดแรงดัน 
  3. คลูลิ่งทาว์เวอร์Cooling Tower ) เป็นหลักการระบายตวามร้อนคล้ายกับ ไซฟอน ( Syphon ) แต่สามารถระบายความร้อนได้ดีกว่า สามารถทนรับอุณหภูมิถึง 300°C ดูคลิปตัวอย่างการทำงาน คูลลิ่งทาวเวอร์กับเกจ์วัดแรงดัน 
  4. สนับเบอร์( Snubber ) คือ ทำหน้าที่ รับแรงดันกระชากจากระบบ เพื่อป้องกัน ไม่ให้แรงดันที่กระชาก เข้ามาก่อความเสียหายกับตัวอุปกรณ์ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ ลิงค์นี้ Snubber สำหรับเพรชเชอร์เกจ 
  5. ไดอะแฟรม ซีล (diaphragm seals ) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันสิ่งสรกปก ไม่ให้เข้าไปภายเกจ เช่น ตะกอน เศษหิน ฯ หรือ ของเหลวที่มีความหนึดสูง เช่น จาระบี ทั้งยังปกกันสารเคมี ที่มีผลต่อข้อหรือสวัสดุที่ไม่สามารถทนต่อสารเคมีได้ สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ ลิงค์นี้ diaphragm seals for pressure gauge ดังนั้น ในการเลือกใช้งานอุปกรณ์วัดนั้นลูกค้าควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานเช่น วัดลมและวัดน้ำควรเลือกแบบย่านวัดต่ำแต่มีความละเอียดสูง วัดน้ำมันควรเลือกแบบช่วงวัดสูง วัดสารที่กัดกร่อนควรเลือกแบบตัวเรือนสแตนเลสที่ทนการกัดกร่อนได้ดี หรือใช้วัดสารไม่กัดกร่อนก็สามารถเลือกตัวเรือนเหล็กแบบปกติ เป็นต้นสำหรับสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อ Stress Gauge ก็คือ – หน่วยวัด(Unit) คือ หน่วยความดันบนหน้าปัดที่เราต้องการให้อุปกรณ์วัดแสดง – ย่านการวัด (Vary) คือ ช่วงความดันต่ำสุด-สูงสุด ที่อุปกรณ์ตัวนั้นสามารถวัดให้เราได้ – ขนาดหน้าปัด (Dial Dimension) คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้าปัดอุปกรณ์วัด มักระบุเป็น นิ้วหรือมิลลิเมตร – ชนิดวัสดุ คือ ชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นตัวเรือน : เหล็ก / พลาสติก / สแตนเลส / ทองเหลืองและวัสดุใช้ทำเกลียว : ทองเหลือง / สแตนเลสแบบ/ขนาดของเกลียว (Sort/Thread measurement) คือ ขนาดของเกลียวที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์อื่น มีทั้งแบบออกด้านล่างและออกด้านหลัง ตัวอย่างขนาดเกลียวมาตรฐาน NPT และ BSP – ออฟชั่นพิเศษต่างๆ เช่น แบบมีน้ำมัน มีปีกยึดติดตู้ เป็นต้น

 

pressure gauge_เกจวัดแรงดัน_wika_nuovafima_octa

Pressure Gauge การเรียกหน่วยวัดแรงดันและการเทียบหน่วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *